SHARE

Printing 101: ข้อควรระวังกับงานพิมพ์ที่ดีไซน์มีขอบหรือกรอบบังคับ

ถึงแม้ว่าทุกวันนี้ เราจะมีเทคโนโลยีรวมถึงเครื่องจักรที่แทบจะรองรับความต้องการของงานได้ทุกรูปแบบ แต่เพื่อนๆรู้กันมั้ยว่า ในความสามารถของเครื่องไม้เครื่องมือที่ยอดเยี่ยมเหล่านี้ เราก็ยังมีข้อจำกัดบางอย่างที่ควรต้องระวังไว้เสมอ เพราะงานออกแบบ artwork ต่างๆ ที่สวยงามในหน้าจอนั้น อาจจะพบกับปัญหาที่คาดไม่ถึงได้ โดยวันนี้หัวข้อที่ทาง Royalpress จะมาแนะนำเรื่องเล็กๆที่กลายเป็นปัญหาในงานพิมพ์ได้อย่างไม่น่าเชื่อกัน กับเรื่องงานพิมพ์ที่ดีไซน์มีขอบหรือกรอบบังคับ

 

ทำความเข้าใจกับงานพิมพ์ที่ดีไซน์มีขอบหรือกรอบบังคับ
เมื่อการออกแบบ Artwork มีขอบหรือกรอบบังคับ มักมีโอกาสสูงที่จะเกิดความผิดพลาดในการเลื่อนของชิ้นงานระหว่างกระบวนการพิมพ์ เพราะด้วยข้อจำกัดต่างๆ จะทำให้เครื่องพิมพ์ไม่สามารถจัดแนวการออกแบบให้ตรงกับขอบได้อย่างแม่นยำ ซึ่งการมีช่องว่างหรือเส้นที่ใกล้กับกรอบของ Artwork จะยิ่งสังเกตเห็นได้ง่ายเมื่อเพ่งดูอย่างละเอียด และการคลาดเคลื่อนนี้อาจเกิดได้จากหลายปัจจัย

 

ตัวอย่างงานออกแบบที่มีกรอบบังคับส่งผลให้หากการพิมพ์คลาดเคลื่อนจะสังเกตเห็นได้ง่าย

 

1.ค่าความคลาดเคลื่อนของเครื่องพิมพ์ Offset: เครื่องพิมพ์ Offset แต่ละเครื่องมีระดับความคลาดเคลื่อนของตัวเอง ซึ่งการจะกำหนดความแม่นยำในการจัดตำแหน่งและทำซ้ำอาร์ตเวิร์ค (ในกรณีที่มีการออกแบบมีขอบหรือกรอบบังคับ) มักจะเกิดข้อผิดพลาดได้ง่ายเพราะข้อจำกัดของเครื่องพิมพ์ แต่โดยส่วนมากแล้วการพิมพ์ในระบบ Offset มักจะได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำดีกว่าระบบอื่นๆ ถ้าหากช่างพิมพ์มีความเข้าใจในรูปแบบชิ้นงานมากพอ

 

2.การเคลื่อนตัวของกระดาษ: ในระหว่างกระบวนการพิมพ์ กระดาษอาจจะสามารถขยาย, หด หรือเลื่อนได้ เนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น ความชื้น, อุณหภูมิ หรือการจัดการที่ไม่เหมาะสม การเคลื่อนไหวเหล่านี้อาจทำให้กรอบของชิ้นงานคลาดเคลื่อนได้ และยิ่งถ้าหากกระดาษมีความหนาค่อนข้างมาก โอกาสที่จะเกิดการเคลื่อนตัวในระหว่างการพิมพ์ก็จะยิ่งสูงตามโดยเฉพาะกับการพิมพ์ในระบบ Digital

 

3.ข้อจำกัดของเครื่องพิมพ์ Digital: ในระบบการพิมพ์แบบ Digital นั้น เนื่องจากข้อจำกัดการทำงานของเครื่องโดยทั่วไปนั้น มักทำให้ชิ้นงานที่ได้มีการยืดหรือหดตัวมากกว่าการพิมพ์ในระบบ Offset ดังนั้นเราควรต้องพิจารณาข้อจำกัดนี้ควบคู่ไปกับการออกแบบชิ้นงานด้วย

 

4.ข้อจำกัดของงานหลังพิมพ์: บางครั้งการส่งต่องานที่พิมพ์เสร็จแล้ว ไปสู่ขั้นตอนงานหลังพิมพ์ เช่นกระบวนการปั๊มฟอยล์ หรือ ปั๊มนูน ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาการเหลื่อมของชิ้นงานได้เช่นกัน โดยเฉพาะในงานพิมพ์แบบ Digital เนื่องจากฉากของงานที่ใช้ในการพิมพ์ Digital จากเครื่องนั้น แตกต่างจากฉากของงานที่ใช้ในระบบ Offset

 

ตัวอย่างงานที่พิมพ์ในระบบดิจิตอลแล้วนำไปปั๊มฟอยล์ทองที่เกิดการเหลื่อมของชิ้นงาน เพราะใช้ฉากคนละระบบกัน

 

วิธีแก้ไขและป้องกัน

1.หลีกเลี่ยงการดีไซน์ที่มีขอบหรือกรอบบังคับ: หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการออกแบบที่จะทำให้ชิ้นงานพิมพ์มีขอบหรือกรอบบริเวณใกล้กับเนื้อหาหรือ Artwork เพราะเส้นกรอบเหล่านี้จะเป็นจุดสังเกตได้ง่ายหากงานพิมพ์มีข้อผิดพลาด หรือถ้าอยากมีกรอบในงานจริงๆ ก็ควรเว้นพื้นที่ให้ห่างจากจุดสังเกตเช่นขอบกระดาษ เป็นต้น

 

การใส่กรอบให้ห่างจากขอบกระดาษช่วยให้การคลาดเคลื่อนเล็กน้อย ไม่เกิดเป็นจุดสังเกต

 

2.ทำการ Proof งาน:  การ Proof งานก่อนพิมพ์จริง เพื่อดูปัญหาการเลื่อนของกรอบหรือขอบ จะช่วยให้เราสามารถทราบปัญหาที่แท้จริงและสามารถปรับแบบที่ไม่ก่อให้เกิดการเลื่อนของชิ้นงานได้

 

3. ปรึกษากับโรงพิมพ์: ในกรณีที่ลูกค้าไม่แน่ใจเรื่องของแบบ Artwork ที่มีขอบหรือกรอบในงาน โดยทั่วไปแล้วโรงพิมพ์จะสามารถช่วยให้คำปรึกษาและแนะนำลูกค้าในเบื้องต้นได้ เพื่อให้ชิ้นงานที่พิมพ์จริงออกมาสมบูรณ์ตาม Artwork ที่ลูกค้าต้องการได้

ช่างพิมพ์ที่เชี่ยวชาญจะสามารถให้คำปรึกษาเรื่องข้อจำกัดต่างๆได้ดีที่สุด ดังนั้นการสรุปแบบกับช่างจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุดก่อนเริ่มงานจริง

 

นอกจากเรื่องข้อจำกัดด้านชิ้นงานดีไซน์ที่มีกรอบต่างๆแล้ว เรายังอยากแนะนำเรื่องการ เตรียมไฟล์อย่างไร เพื่อให้ได้งานพิมพ์เร็วที่สุด? เพิ่มอีก 1 เรื่อง เพื่อให้ชิ้นงานพิมพ์ที่ออกมาจากโรงพิมพ์ถูกต้องตรงโจทย์ความต้องการเพื่อนๆที่สุด

 

     
                 
     
logo

We use cookies to improve performance. and good experience in using your website You can study the details at Privacy Policy and you can manage your own privacy by clicking Setup

Privacy Preferences

You can choose cookie settings by on/off. Cookies of each type are available on request, except for essential cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Strictly necessary cookies
    Always Active

    Types of cookies are necessary for the operation of the website. so that you can use it normally and visit the website You cannot disable this cookie on our website.

  • Analystic cookies

    These cookies collect information about your use of the website. for the benefit of measuring results Improve and develop a good experience in using the website. If you do not consent to our use of these cookies. We will not be able to measure the improvement and development of the website.
    Cookies Details

Save