SHARE

ในโรงพิมพ์ มีกระดาษอะไรให้เลือกบ้าง?

เวลาจะพิมพ์งานแต่ละที ขั้นตอนที่ทำให้เราปวดหัวและใช้เวลามากที่สุดอีกขั้นตอนหนึ่งก็คือ การเลือกกระดาษ เพราะในโลกนี้มีกระดาษให้เลือกใช้มากมายหลายแบบ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าควรเลือกใช้กระดาษแบบไหนจึงจะเหมาะสมกับงานของตนเอง

เพื่อให้ทุกคนเข้าใจง่าย และเลือกใช้กระดาษได้ดีขึ้น โรงพิมพ์ของเราได้มีการแบ่งกระดาษที่ใช้ในงานพิมพ์ออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ กระดาษพื้นฐาน, กระดาษพิเศษ และกระดาษที่เพิ่มคุณสมบัติพิเศษ

1. กระดาษพื้นฐาน

กระดาษพื้นฐานของเรา หมายถึง กระดาษทั่วไปที่มีขนาด และความหนาตามมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไปในการพิมพ์

กระดาษพื้นฐานยังสามารถแบ่งย่อยได้เป็น

1.1 กระดาษเคลือบผิว (Coated Paper)

มีทั้งกระดาษที่ผิวมีความมันแวววาวจากการเคลือบมัน และผิวด้าน ที่ให้ความรู้สึกเหมือนไม่ได้เคลือบอะไร เป็นการเคลือบผิวในกระบวนการผลิตกระดาษตั้งแต่ต้น เพื่อให้ผิวกระดาษมีความเนียนเรียบมากขึ้น และทำให้งานที่พิมพ์ลงบนกระดาษสวยงามมากขึ้น สีที่สดกว่า เพราะหมึกพิมพ์ไม่ถูกดูดลงไปซึมอยู่ในเนื้อกระดาษหมด จนสีจม  โดยมีทั้งกระดาษที่เคลือบผิวทั้ง 2 หน้า และเคลือบหน้าเดียว ได้แก่

1.1.1 กระดาษอาร์ต

Paper Type 14

ตัวอย่างกระดาษอาร์ตมัน

Paper Type 03

ตัวอย่างกระดาษอาร์ตด้าน
  • กระดาษอาร์ตมัน ที่ผิวทั้ง 2 มีความมันวาว สะท้อนแสง
  • กระดาษอาร์ตด้าน ที่ผิวทั้ง 2 ด้านไม่สะท้อนแสง มองดูแล้วเหมือนไม่ได้เคลือบ แต่ถ้าลองสัมผัสแล้ว จะรู้สึกถึงความเรียบเนียนมากกว่ากระดาษที่ไม่เคลือบผิวมีความหนาตั้งแต่ 70 – 180 แกรม
1.1.2 กระดาษอาร์ตการ์ด

Paper type 01

ตัวอย่างกระดาษอาร์ตการ์ด ที่มีความหนาขึ้นมาจากกระดาษอาร์ตทั่วไป

กระดาษชนิดนี้ จริงๆ แล้วก็คือ กระดาษอาร์ตที่มีความหนามากขึ้นนั่นเอง คือมีความหนาตั้งแต่ 200 – 400 แกรม และเคลือบผิวแบบมัน โดยมีการเคลือบผิวมัน 2 แบบ ได้แก่

  • กระดาษอาร์ตการ์ดหน้าเดียว ที่ผิวมันวาว สะท้อนแสงเพียงหน้าเดียว ซึ่งนิยมนำไปใช้ในการทำบรรจุภัณฑ์ประเภทกล่อง เพราะมีความแกร่ง ความแข็งเป็นทรงมากกว่าอาร์ตการ์ดที่มันทั้ง 2 หน้า
  • กระดาษอาร์ตการ์ดสองหน้า ที่ผิวมันวาว สะท้อนแสงทั้ง 2 หน้า นิยมนำไปใช้ในการทำบรรจุภัณฑ์ประเภทถุง เพราะกระดาษมีความอ่อนนุ่มลงมา ให้ความรู้สึกนุ่มนวลมากกว่า หรือใช้กับงานพิมพ์ที่ต้องโชว์ทั้งสองหน้ากระดาษ เช่น งานแฟ้ม, การ์ดเชิญ เป็นต้น
1.1.3 กระดาษกล่องแป้ง

ตัวอย่างกระดาษกล่องแป้ง

เป็นกระดาษที่ผิวด้านหนึ่งประกบด้วยชั้นกระดาษขาว ในขณะที่ผิวอีกด้านมักมีสีคล้ำกว่า ความหนาประมาณ 200 – 400 แกรม แบ่งเป็น

  • กระดาษกล่องแป้งหลังเทา ที่ด้านหลังเป็นสีเทา เพราะทำมาจากเยื่อกระดาษหนังสือพิมพ์
  • กระดาษกล่องแป้งหลังน้ำตาล ที่ด้านหลังเป็นสีน้ำตาล เพราะทำมาจากเยื่อกระดาษลัง
  • กระดาษกล่องแป้งหลังขาว ที่ด้านหลังก็เป็นสีขาว แต่ไม่เรียบเนียนเท่าประเภทอาร์ต

1.2 กระดาษไม่เคลือบผิว (Uncoated Paper)

ผิวของกระดาษกลุ่มนี้ไม่เนียนเท่ากับกระดาษเคลือบผิว เวลาสัมผัสแล้วจะรู้สึกถึงผิวสัมผัสที่มีความเป็นเยื่อๆ ของกระดาษอยู่ ได้แก่

1.2.1 กระดาษปรู๊ฟ

Paper Type 04

ตัวอย่างกระดาษปรู๊ฟในงานหนังสือพิมพ์

เป็นกระดาษบางๆ มีสีอมเหลือง ผิวสัมผัสค่อนข้างหยาบ มีความหนา 40 – 55 แกรม นิยมนำมาใช้ทำหนังสือพิมพ์นั่นเอง

1.2.2 กระดาษปอนด์

Paper Type 05

ตัวอย่างกระดาษปอนด์ ซึ่งเป็นกระดาษที่เราใช้ในชีวิตประจำวันมากที่สุด

แน่นอนว่าทุกคนต้องเคยใช้กระดาษปอนด์ เพราะกระดาษที่เราใช้ในการจดงาน พิมพ์งาน ถ่ายเอกสารต่างๆ คือกระดาษปอนด์นั่นเอง เป็นกระดาษที่มีสีขาว มีทั้งที่ผิวเรียบและผิวหยาบ มีความหนาตั้งแต่ 55 – 120 แกรม

1.2.3 กระดาษการ์ดขาว

คือ กระดาษปอนด์ที่มีความหนามากขึ้น โดยมีความหนาตั้งแต่ 150 แกรมขึ้นไป

1.2.4 กระดาษถนอมสายตา (Green Read Paper)

Paper Type 06

ตัวอย่างกระดาษถนอมสายตา หรือที่เรียกอีกชื่อว่า Green Read

มีสีครีม มีความหนาประมาณ 60 – 70 แกรม มักใช้ในงานหนังสือเป็นหลัก เนื่องจากเนื้อและสีกระดาษเป็นมิตรต่อสายตาคนทั่วไป

1.2.5 กระดาษคราฟท์น้ำตาล

Paper Type07

ตัวอย่างกระดาษคราฟท์น้ำตาล

มีสีออกโทนเหลือง – น้ำตาล ตามสีของเยื่อไม้ที่นำมาทำกระดาษ มีความแข็งแรง และเหนียวกว่ากระดาษชนิดอื่น มีความหนาตั้งแต่ 150 – 400 แกรม

1.2.6 กระดาษคราฟท์ขาว

Paper Type 08

ตัวอย่างกระดาษคราฟท์ขาว

มีลักษณะคล้ายกับกระดาษการ์ดขาว ที่ไม่แกร่งเท่าการ์ดขาว แต่จะเหนียว และให้ความรู้สึกว่านุ่มกว่าเมื่อสัมผัส เป็นกระดาษที่ใช้เยื่อไม้เดียวกันกับที่นำมาทำกระดาษคราฟท์น้ำตาล แต่นำไปฟอกให้เป็นสีขาว มีความหนาตั้งแต่ 120 – 210 แกรม นิยมนำไปใช้ทำถุงกระดาษ

1.2.7 กระดาษแข็ง หรือ กระดาษจั่วปัง

Paper Type 09

ตัวอย่างกระดาษจั่วปัง

เป็นกระดาษที่ผิวหยาบมากที่สุดในบรรดากระดาษทั้งหมด สีคล้ำออกเทา หนามากเพราะเกิดจากการซ้อนกันของ กระดาษหลายชั้น  ไม่นิยมนำมาใช้ในการพิมพ์งาน แต่ใช้ในการประกบหรือสอดไส้งานให้แข็งแรง

ถ้าเลือกกระดาษไม่เคลือบผิวไปพิมพ์งาน แล้วไปเคลือบผิวหลังพิมพ์งานแทนได้ไหม จริงๆ แล้วก็สามารถทำได้ แต่ส่วนใหญ่เราพบว่าไม่นิยมนำกระดาษกลุ่มนี้ไปเคลือบผิวหลังการพิมพ์ต่อ เพราะจะทำให้เสียความรู้สึกของการเป็นกระดาษนั้นๆ ไป

2. กระดาษพิเศษ

Paper Type 10

ตัวอย่างกระดาษชนิดพิเศษที่มีผิวสัมผัสสวยงาม และ แตกต่างจากกระดาษทั่วๆไป

กระดาษพิเศษ คือ กระดาษที่มีความสวยงามพิเศษ ตั้งแต่การเลือกเยื่อไม้ที่สวยมาใช้ในการผลิตกระดาษ ไปจนถึงการเพิ่มสีสัน ผิวสัมผัสแบบต่างๆ ทำให้เนื้อกระดาษมีความสวยและให้สัมผัสที่ดีเป็นพิเศษ จึงนิยมนำมาใช้ในงานที่เน้นการโชว์ผิวกระดาษ ไปจนถึงงานนามบัตร และการ์ดเชิญต่างๆ

3. กระดาษที่มีคุณสมบัติพิเศษ

Paper Type 11

ตัวอย่างกระดาษที่มีคุณสมบัติพิเศษสามารถพบเจอได้ในกระดาษที่ใช้กับงานบรรจุภัณฑ์อาหารและยา

กระดาษที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือ กระดาษที่มีการทำให้เกิดคุณสมบัติพิเศษต่างๆ ในกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มความสามารถในการใช้งาน และเพิ่มคุณค่าให้กับกระดาษนั้นๆ แบ่งเป็น

3.1 กระดาษที่ต้องสัมผัสอาหาร (Food Grade Paper)

เป็นกระดาษที่ได้รับการรับรองความปลอดภัยมาจาก FDA  (Food and Drug Administration / องค์กรอาหารและยาแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา) ว่าสามารถใช้ในงานที่ต้องสัมผัสอาหารโดยตรงได้ เพราะผลิตจากเยื่อกระดาษใหม่ ไม่มีสารฟอกขาวและสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ  มีให้เลือกหลายประเภท แบ่งย่อยได้เป็น

3.1.1 กระดาษ MG (Machine Glazed)

paper type 12

ตัวอย่างกระดาษ MG สีขาว

คือกระดาษคราฟท์ขาวหรือน้ำตาล ที่มีผิวมันหน้าเดียว บาง โดยมีความหนาตั้งแต่ 20 – 50 แกรม สามารถเข้าไมโครเวฟได้ นิยมนำไปใช้ในการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ห่ออาหาร เช่น กระดาษห่อแฮมเบอร์เกอร์, กระดาษห่อหมากฝรั่ง, กระดาษห่อขนมปัง, ถุงใส่ขนม เป็นต้น

3.1.2 กระดาษอาร์ตการ์ดหน้าเดียว (Non-OBA)

คล้ายกับกระดาษอาร์ตการ์ดทั่วไป แต่ปราศจากสารเรืองแสงในกระบวนการผลิต มีความหนาตั้งแต่ 270 – 400 แกรม นิยมนำไปใช้ในการทำบรรจุภัณฑ์อาหารและยาทั่วไป

3.1.3 กระดาษอาร์ตการ์ดเคลือบผิวด้วย PE

คือกระดาษอาร์ตการ์ด Food Grade ที่นำมาเคลือบผิวด้วย PE เพื่อให้ทนต่อความชื้น กันน้ำและน้ำมันซึมได้ มีความหนาตั้งแต่ 270 – 400 แกรม นิยมนำไปใช้ในการทำบรรจุภัณฑ์อาหารและยาทั่วไป

3.1.4 กระดาษอาร์ตการ์ดหน้าขาวหลังน้ำตาล (Frozen)

เป็นกระดาษที่มีความเหนียว ความแข็งแกร่ง และทนต่อความชื้นได้เป็นอย่างดี สามารถพิมพ์งานได้ทั้ง 2 ด้าน มีความหนาตั้งแต่ 290 – 390 แกรม นิยมนำไปใช้ในการทำบรรจุภัณฑ์แช่แข็ง

3.1.5 กระดาษคราฟท์น้ำตาลเคลือบผิวด้วย PE

คือกระดาษคราฟท์ที่ปราศจากสารเรืองแสงในกระบวนการผลิต และเคลือบ PE เพื่อให้ทนต่อความชื้น กันน้ำและน้ำมันซึมได้ มีความหนาตั้งแต่ 270 – 400 แกรม นิยมนำไปใช้ในการทำบรรจุภัณฑ์อาหาร

(แตกต่างจากกระดาษอาร์ตการ์ดตรงที่กระดาษคราฟท์จะมีความเหนียวกว่า)

3.2 กระดาษที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน FSC™ 

Paper Type 13

ตัวอย่างกระดาษที่ประทับตรา FSC

มาตรฐาน FSC™ (Forest Stewardship Council) คือ มาตรฐานที่รับรองว่ากระดาษที่เราเลือกมาใช้นั้น เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คือเลือกใช้ต้นไม้ที่นำมาใช้ทำเยื่อกระดาษจากป่าปลูกเชิงพาณิชย์ ที่สามารถระบุและตรวจสอบแหล่งที่มาของไม้ได้

นอกจากจะเป็นการเลือกใช้กระดาษที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับงานที่ใช้กระดาษในกลุ่มนี้ได้จากการติดฉลากมาตรฐาน FSC™ อีกด้วย

ทีนี้ หากคุณมีงานที่ต้องการพิมพ์ คุณก็ไม่ต้องเสียเวลาและปวดหัวกับการเลือกกระดาษมากมายหลายชนิดแล้ว เพียงแค่ตัดกระดาษกลุ่มที่คุณสมบัติไม่เข้าตาคุณออกไป แล้วบอกเราว่าอยากเลือกดูตัวอย่างกระดาษจากกลุ่มไหน แค่นี้ก็ช่วยให้เจอกระดาษที่ถูกใจได้เร็วขึ้น แถมประหยัดเวลาได้มากขึ้นไปอีกด้วย

ส่วนถ้าอยากรู้ว่าจะเลือกใช้กระดาษอะไร กับงานประเภทไหนดี เพื่อนๆก็สามารถไปติดตามต่อได้ที่บทความ “วิธีเลือกกระดาษในงานพิมพ์ ต้องคิดถึงอะไรบ้าง?” กันเลย

     
                 
     
logo

We use cookies to improve performance. and good experience in using your website You can study the details at Privacy Policy and you can manage your own privacy by clicking Setup

Privacy Preferences

You can choose cookie settings by on/off. Cookies of each type are available on request, except for essential cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Strictly necessary cookies
    Always Active

    Types of cookies are necessary for the operation of the website. so that you can use it normally and visit the website You cannot disable this cookie on our website.

  • Analystic cookies

    These cookies collect information about your use of the website. for the benefit of measuring results Improve and develop a good experience in using the website. If you do not consent to our use of these cookies. We will not be able to measure the improvement and development of the website.
    Cookies Details

Save